สถิติ
เปิดเมื่อ11/02/2015
อัพเดท11/02/2015
ผู้เข้าชม254674
แสดงหน้า287420
ปฎิทิน
May 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
   
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 




บทความ

เนื้อหา เศรษฐศาสตร์ ม.3
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์
 
          เศรษฐศาตร์ (Economic) = วิชาการแขนงหนึ่งในสาขาสังคมศาสตร์ ที่มุ่งศึกษาพฤติกรรมของคนในสังคมเกี่ยวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
 
รากศัพท์มาจาก คำว่า 'Oikonomikos' แปลว่า 'การบริหารจัดการของครัวเรือน'
 
            อย่างไรก็ตามมีผู้ให้คำจำกัดความของวิชาเศรษฐศาสตร์เอาไว้มากมาย
 
            สรุปแล้ว   วิชาเศรษฐศาสตร์ หมายถึง วิชาที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์และสังคมในการตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อผลิตสินค้าและบริการต่างๆ สนองความต้องการของมนุษย์ที่มีไม่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
 
 
 
ขอบข่ายของวิชาเศรษฐศาสตร์
1) เศรษฐศาสตร์บริสุทธิ์
เป็นการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ที่มุ่งอธิบายถึงปรากฏการณ์ทาง เศรษฐกิจและแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล  หรือ ระหว่างปัจจัยหรือสาเหตุกับผลลัพธ์  เช่น  ถ้าสินค้าชนิดหนึ่งมีราคาสูง  ผู้ ซื้อจะตัดสินใจอย่างไร  โดยไม่คำนึงถึงว่าการตัดสิน ใจอย่างไร  โดยไม่คำนึงว่าการตัดสินใจนั้นเป็นที่น่า พึงพอใจของสังคมหรือไม่  เป็นต้น
2 ) เศรษฐศาสตร์นโยบาย 
เป็นการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ที่ให้ความสำคัญกับความพึงพอใจ ของสังคมว่า การดำเนินกิจกรรมหรือการตัดสินใจหนึ่งๆ เป็นสิ่งที่ควรกระทำหรือไม่ เช่น ถ้าสินค้าชนิดหนึ่งมีราคาสูง ผู้ซื้อควรจะตัดสินใจอย่างไร หรือรัฐบาลควรจะดำเนินการอย่างไร      เป็นต้น ดังนั้น สามารถจำแนกขอบข่ายออกได้เป็น ๒ แนวทาง ดังนี้
      1. เศรษฐศาสตร์จุลภาค เป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจของบุคคล ครัวเรือน เป็นการศึกษาเฉพาะส่วนย่อย ๆ ในระยะเวลาหนึ่ง ๆ
      2. เศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับรวมหรือในระดับประเทศ เช่น รายได้ประชาชาติ อัตราการจ้างงาน การธนาคาร การคลัง
 
 
กิจกรรมทางเศรษฐกิจ
 
     1. การผลิต (Production) เป็นการสร้างสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์โดยให้เกิด ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ เช่น ประโยชน์จากรูปร่าง ประโยชน์จากสถานที่ ประโยชน์จากเวลา ประโยชน์จากกรรมสิทธิ์
 
ปัจจัยการผลิต
 
    * ที่ดิน หมายถึง ที่ดินและทรัพยากรที่อยู่ในดินและเหนือพื้นดิน ค่าตอบแทนคือ ค่าเช่า
    * แรงงาน หมายถึง แรงงานที่เกิดจากกำลังกายและสติปัญญาของมนุษย์ ค่าตอบแทนคือ ค่าจ้าง หรือเงินเดือน
    * ทุน หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ร่วมกับแรงงาน เช่น เครื่องจักร ค่าตอบแทนคือ ดอกเบี้ย
    * ผู้ประกอบการ หมายถึง ผู้ที่นำเอาปัจจัยการผลิต มาผลิตเป็นสินค้าและบริการ ค่าตอบแทนคือกำไร
 
ขั้นการผลิต
 
    * การผลิตขั้นปฐมภูมิ เป็นการผลิตขั้นแรกโดยนำทรัพยากรธรรมชาติ เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยใช้แรงงาน เช่น การประมง การเกษตร
    * การผลิตชั้นทุติยภูมิ เป็นการนำเอาผลผลิตขั้นต้น มาแปรสภาพเป็นสินค้าได้แก่ หัตถกรรม และอุตสาหกรรม
    * การผลิตชั้นตติยภูมิ เป็นการผลิตในรูปบริการ เช่น การขนส่ง การท่องเที่ยว การประกันภัย
 
       การกำหนดราคาและปริมาณการผลิต ผู้ผลิต อาจคาดคะเนผลผลิตจากการคาดคะเนอุปสงค์และอุปทานของสินค้าในตลาด
อุปสงค์ (Demand) เป็นความต้องการซื้อสินค้าและบริการ ขึ้นกับราคาสินค้า
        กฎทั่วไปของอุปสงค์ คือ อุปสงค์แปรผันโดยอ้อมหรือผูกพันกับราคาสินค้าและบริการ (สินค้าที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เป็นสินค้าที่มีความยืดหยุ่นของอุปสงค์น้อย)
อุปทาน (Supply) เป็นปริมาณความต้องการที่จะขายสินค้าและบริการ ซึ่งจะขึ้นกับราคาของสินค้าและบริการ
        กฎทั่วไปของอุปทาน คือ อุปทานจะแปรผันโดยตรงกับราคาสินค้าและบริการ
ราคาดุลยภาพและปริมาณ ดุลยภาพ
 
ราคาสินค้าแพงนั้น เกิดขึ้นเมื่อ อุปสงค์มากกว่าอุปทาน (ภาวะอุปสงค์ส่วนเกิน)
ราคาสินค้าถูกลง    เกิดขึ้นเมื่อ อุปทานมากกว่าอุปสงค์ (ภาวะอุปทานส่วนเกิน)
 
รูปเส้นของอุปสงค์และอุปทาน
 
2. การบริโภค (Consumption) หมายถึงการใช้ประโยชน์จากสินค้าและบริการ
ชนิด ของการบริโภค
  2.1
2.2
สินค้าคงทน ได้แก่ สินค้าที่เก็บไว้ใช้ได้นานเป็นปี เข่น ปากกา นาฬิกา กระเป๋า
สินค้า ไม่คงทน ได้แก่ สินค้าที่ใช้แล้วหมดสิ้นไปภายใน 1 ปี เช่น อาหาร น้ำมัน เชื้อเพลิง กระดาษ ถ้ารายได้ต่ำ ความสามารถในการบริโภคจะถูกจำกัดลง และถ้ามีรายได้สูง ความสามารถในการบริโภคจะสูงขึ้น
 
3. การกระจาย (Distribution) หมายถึงการจำนวนจ่ายแจกสินค้าและบริการ แบ่งเป็น
  3.1
3.2
การกระจายสินค้าและบริการ ไปสู่ผู้บริโภค
การกระจายรายได้ เป็นการกระจายผลตอบแทนไปสู่ปัจจัยการผลิต
 
4. การแลกเปลี่ยน (Exchange) หมายถึง การนำสินค้าและบริการไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าและบริการอื่น หรือแลกเปลี่ยนกับสื่อกลาง จึงแบ่งออกเป็น
  4.1
4.2
4.3
การแลกเปลี่ยนสินค้าต่อ สินค้า
การแลกเปลี่ยนสินค้าต่อเงินตราหรือใช้สื่อกลาง
การแลกเปลี่ยน แบบใช้สินเชื่อ เช่น เช็ค ตั๋วแลกเงิน ดราฟท์
 
 
รูปแบบของระบบเศรษฐกิจ << ตรงนี้สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในตอนที่ 4 ค่ะ
1. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือเสรีนิยม
  • เอกชนมีสิทธิ์เป็นเจ้าของ ทรัพย์สินและเป็นผู้ดำเนินการผลิต
  • มีการแข่งขันกันในด้านคุณภาพ ราคา การให้บริการ
  • กิจกรรมทางเศรษฐกิจดำเนินผ่านกลไกราคา
ข้อดี 1. เอกชนมีสิทธิ์เสรีภาพในทางเศรษฐกิจ
2. สินค้ามีการพัฒนา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ดี
ข้อเสีย 1. การกระจายรายได้ไม่เท่าเทียมกัน
2. ทรัพยากรถูกนำมาใช้ฟุ่มเฟือย
2. ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
  • รัฐมีบทบาทในการวางแผนและดำเนิน กิจกรรมทางเศรษฐกิจ
  • เอกชนยังเป็นเจ้าของปัจจัยบางประเภท
  • มีการวางแผนด้านเศรษฐกิจจากส่วนกลาง
ข้อดี 1. ความยุติธรรมทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น
2. ฐานะของประชาชนไม่แตกต่างกัน
ข้อเสีย 1. รัฐรับภาระทางด้านสวัสดิการ
2. เอกชนถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
3. ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์
  • รัฐเป็นเจ้าของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและปัจจัยการผลิต
  • เอกชนไม่มีสิทธิเสรีภาพในการเลือกอาชีพ
  • รัฐควบคุมการผลิตอย่างสมบูรณ์ มีการวางแผนจากผลิตจากส่วนกลาง
ข้อดี 1. ควบคุมการใช้ทรัพยากรได้ดี
2. เอกชนถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพทางเศรษฐกิจ
4. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม
  • กิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่เป็นของเอกชน
  • รัฐคงจัดสรรสวัสดิการให้ประชาชน
  • มีการแข่งขันด้านคุณภาพ ราคา บริการ
  • รัฐเข้าดูแลกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อส่วนรวม
  • ใช้กลไกราคาร่วมกับการวางแผนจากส่วนกลาง
ข้อดี 1. เอกชนมีเสรีภาพ
2. รัฐเข้าคุ้มครองผลประโยชน์ไว้กับประเทศและสังคม
ข้อเสีย 1. รัฐรับภาระสวัสดิการต่าง ๆ
 
 
การเงิน การคลัง การธนาคาร

    เงิน คือ สิ่งใด ๆ ก็ตามที่สังคมยอมรับใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
หน้าที่ของเงิน
  1.
2.
3.
4.
เป็นเครื่องวัดมูลค่า
เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน  ****** เป็นหน้าที่ที่สำคัญที่สุด
เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ในอนาคต
เป็นเครื่องรักษามูลค่า
ชนิดของเงิน
  1.
2.
3.
เงินเหรียญกษาปณ์ 
เงินธนบัตร
เงินฝากกระแสรายวันหรือเผื่อเรียก
      ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ (รวมทั้งประเทศไทย) หันมาใช้มาตรฐานเงินตราที่เรียกว่ามาตราผสมภายใต้กองทุนการเงินระหว่าง ประเทศ โดยกำหนดค่าเสมอภาค เทียบกับทองคำ และเงินดอลลาร์
ค่าของเงิน
  1.
2.
ค่าภายนอก เมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น เช่น 42 บาทเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
ค่าภายใน เป็นอำนาจในการซื้อสินค้าของเงิน 1 หน่วย ถ้า 1 หน่วย ซื้อสินค้าได้มาก แสดงว่ามีค่ามาก (ค่าของเงินจะแปรผกผันกับราคาสินค้า)
 
***** ภาวะการเงินที่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจ ได้แก่
 
1.

ภาวะเงินเฟ้อ คือ ภาวะที่เงินมีอำนาจการซื้อลดลง ปริมาณเงินเพิ่มขึ้น ราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น
  ผลกระทบ - ผู้เสียเปรียบคือ เจ้าหนี้ และผู้มีรายได้แน่นอน
- ผู้ได้เปรียบคือ ลูกหนี้ และนักธุรกิจ
  วิธีแก้ปัญหา - ขึ้นอัตราดอกเบี้ย และขายพันธบัตรรัฐบาล
- ใช้นโยบายงบประมาณเกินดุล ด้วยการเพิ่มภาษีอากร
 
2.

ภาวะเงินฝืด คือ ภาวะที่มีเงินมีอำนาจซื้อเพิ่มขึ้น ปริมาณเงินลดลง ราคาสินค้าและบริการถูกลง แต่ไม่มีคนมาซื้อ
    ผลกระทบ - ผู้เสียเปรียบคือ ลูกหนี้ และนักธุรกิจ
- ผู้ได้เปรียบคือ เจ้าหนี้ และผู้มีรายได้แน่นอน
    วิธี แก้ปัญหา - ลดอัตราดอกเบี้ย และซื้อพันธบัตรรัฐบาล
- ใช้นโยบายงบประมาณขาดดุล ด้วยการลดหนี้ และเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐ
 
3.

ภาวะเงินตึง      คือ   ภาวะที่กระแสการเงินชะงักชะงัน มีความต้องการเงินเพื่อลงทุนเพิ่มแต่ปริมาณเงินน้อย
    การแก้ปัญหา   คือ   เพิ่มปริมาณเงินหรือกู้เงินมาหมุนเวียนเพิ่มอาจนำไปสู่ภาวะเงินเฟ้อหรือเงิน ฝืดก็ได้
 


อุปสงค์ (Demand)

               อุปสงค์ในวิชาเศรษฐศาสตร์ หรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า Demand หมายถึง ความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการ ณ ระดับราคาต่าง ๆ ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง เมื่อกำหนดให้ปัจจัยอื่น ๆ คงที่
โดยอุปสงค์จะประกอบไปด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 
1. ความต้องการที่จะซื้อ หรือ Willing to buy
2. ความสามารถในการจ่ายเพื่อซื้อ หรือ ability to pay

              กฎของอุปสงค์คือ “หากกำหนดให้ปัจจัยอื่น ๆ คงที่ อุปสงค์หรือความต้องการซื้อสินค้าจะลดลง เมื่อราคาสินค้าแพงขึ้นหรือสูงขึ้น และอุปสงค์หรือความต้องการซื้อสินค้าจะเพิ่มขึ้น เมื่อราคาสินค้าถูกลง”

              จากความสัมพันธ์ดังกล่าว   โดยปกติ   เส้นอุปสงค์ จึงมีลักษณะที่ลาดลงจากซ้ายไปขวา (Downward slope) และมีความชันของเส้นเป็นค่าลบ ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการซื้อสินค้ากับราคาในทิศทางตรงกันข้าม แสดงเป็นตารางอุปสงค์ได้ดังนี้


ตารางที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์และราคาสินค้า

 

ราคา (บาท/หน่วย) 100 90 80 70 60  50 40
อุปสงค์/ความต้องการ  30 50 70  98 115  150  180

 

            จะสังเกตเห็นว่า ความสัมพันธ์จะเป็นไปในทิศทางที่ตรงกันข้ามกัน คือ เมื่อราคาสินค้าแพงขึ้น ความต้องการหรืออุปสงค์ก็ลดน้อยลง ซึ่งเมื่อนำมาแสดงในรูปของกราฟ จะเป็นดังรูปที่ 1 และเมื่อนำอุปสงค์ของแต่ละคนมารวมกัน ก็จะเป็นอุปสงค์ของตลาด ณ ระดับราคาต่าง ๆ

รูปที่ 1 เส้นอุปสงค์
 

ปัจจัยที่กำหนดการเปลี่ยนแปลงในอุปสงค์ได้แก่

1. ราคาของสินค้า เมื่อราคาแพงขึ้น ความต้องการจะลดลง 
2. รายได้ของผู้บริโภค กล่าวคือ ในกรณีที่เป็นสินค้าปกติ (Normal goods) เมื่อผู้บริโภคมีรายได้เพิ่มขึ้น ก็จะบริโภคเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม หากรายได้เพิ่มขึ้น แล้วผู้บริโภคซื้อสินค้านั้นลดลง แสดงว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าด้อยคุณภาพ (Inferior goods) เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งอันที่จริงอาจจะไม่ได้หมายถึง คุณภาพของสินค้าจริงๆ ว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไม่ดี แต่เป็นเรื่องของการรับรู้ของผู้บริโภคแต่ละคนที่อาจมีมุมมองแตกต่างกันไป เช่น ถ้ารวยขึ้นก็ไม่อยากกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาจหันไปกินอย่างอื่น เช่น ไก่ทอด แทน เป็นต้น
3. ราคาสินค้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
              • สินค้าที่ใช้ทดแทนกัน    เช่น    กรณีเมื่อหมูราคาแพงขึ้น ผู้บริโภคจะบริโภคหมูลดลง ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคก็อาจจะหันไปบริโภคไก่ หรือ ปลา หรือสัตว์น้ำอื่น ๆ แทน
              • สินค้าที่ใช้ประกอบกัน    เช่น    กรณีที่ราคาน้ำมันแพงขึ้น ความต้องการซื้อรถยนต์ก็จะลดน้อยลงด้วย เป็นต้น
4. รสนิยมของผู้บริโภค เช่น หากรสนิยมในการบริโภคเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้ความต้องการสินค้าที่เคยใช้อยู่เปลี่ยนแปลงไป
5. การคาดการณ์รายได้ในอนาคต เช่น หากผู้บริโภครู้ว่าจะได้มีการปรับขึ้นเงินเดือน ก็อาจจะบริโภคล่วงหน้าไปก่อน ทำให้ความต้องการบริโภคสินค้าสูงขึ้น
6. ปัจจัยอื่น ๆ เช่น ฤดูกาล จำนวนประชากร ฯลฯ


การเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ 
             หากเกิดจากราคาของสินค้านั้นๆ  เอง (ปัจจัยกำหนดอุปสงค์ข้อ 1.) การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นบนเส้นอุปสงค์เส้นเดิม (Move along the demand curve) แต่หากเกิดปัจจัยอื่น โดยที่ราคาของสินค้านั้น ๆ คงที่ การเปลี่ยนแปลงจะเลื่อนเส้นอุปสงค์ไปทางซ้าย หรือทางขวาของเส้นเดิมทั้งเส้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เข้ามากระทบว่าจะส่งผลทางใด (Shift in demand curve) ดังแสดงในรูปที่ 2 เช่น หากรายได้ของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น เพราะได้รับโบนัส แม้ราคาสินค้าจะไม่เปลี่ยนแปลงเช่นยัง 60 บาทเท่าเดิม แต่ผู้บริโภคก็สามารถซื้อได้เพิ่มขึ้นจาก 120 หน่วย เป็น 170 หน่วย (จากเส้น D1 เป็นเส้น D2 ในรูปที่ 2) เป็นต้น


รูปที่ 2 การเปลี่ยนแปลงเส้นอุปสงค์ แบบเลื่อนไปทั้งเส้น จากปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ราคา
 


           อุปทาน (Supply)

           อุปทานในวิชาเศรษฐศาสตร์ หรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า Supply หมายถึง ความต้องการจะขายสินค้าหรือบริการของผู้ขาย ณ ระดับราคาต่าง ๆ ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด เมื่อกำหนดให้ปัจจัยอื่น ๆ คงที่

          โดยอุปทานจะประกอบไปด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 
          1. ความต้องการที่จะขาย หรือ Willing to sell
          2. ความสามารถในการผลิต หรือ ability to produce

          กฎของอุปทานคือ “หากกำหนดให้ปัจจัยอื่น ๆ คงที่ อุปทานหรือความต้องการขายสินค้าจะลดลง เมื่อราคาสินค้าถูกลง และอุปทานหรือความต้องการขายสินค้าจะเพิ่มขึ้น เมื่อราคาสินค้าแพงขึ้น”
          จากความสัมพันธ์ดังกล่าว โดยปกติ เส้นอุปทาน จึงมีความชันของเส้นเป็นค่าบวก ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการขายสินค้ากับราคาที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน แสดงเป็นตารางอุปทานได้ดังนี้


ตารางที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุปทานและราคาสินค้า    

ราคา (บาท/หน่วย) 100 90 80 70 60  50 40
อุปสงค์/ความต้องการ  270 240 200 170   140 110 70

 


 
จะสังเกตเห็นว่า ความสัมพันธ์จะเป็นไปในทิศทางที่เดียวกัน กล่าวคือ เมื่อราคาสินค้าแพงขึ้น ความต้องการจะขายหรืออุปทานก็มากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งเมื่อนำมาแสดงในรูปของกราฟ จะเป็นดังรูปที่ 3 โดยเมื่อนำอุปทานของผู้ขายแต่ละรายมารวมกัน ก็จะเป็นอุปทานของตลาด ณ ระดับราคาต่าง ๆ


รูปที่ 3 เส้นอุปทาน
 


ปัจจัยที่กำหนดการเปลี่ยนแปลงในอุปทานได้แก่

1.    ราคาของสินค้า เมื่อราคาแพงขึ้น ความต้องการขายก็มากขึ้นด้วย
2.    ราคาของปัจจัยการผลิตหรือต้นทุนการผลิต เช่น หากต้นทุนค่าขนส่งแพงขึ้นเพราะราคาน้ำมันแพงขึ้น แต่ราคาสินค้าที่นำไปวางขายไม่เปลี่ยนแปลง จะทำให้ผู้ผลิตอยากขายสินค้าในปริมาณที่น้อยลง เพราะได้กำไรน้อยลง
3.    ราคาสินค้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กรณีที่ราคาสินค้าอื่นแพงขึ้น อาจมีผลทำให้อุปทานของสินค้าชนิดที่ผลิตอยู่ลดลง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น เมื่อราคาข้าวโพดแพงขึ้น คนที่เคยปลูกมันสำปะหลังอยู่ อาจหันไปปลูกข้าวโพดแทน และลดการปลูกมันสำปะหลังลง ซึ่งผลทำให้อุปทานของมันสำปะหลังสูงขึ้น ขณะที่อุปทานของข้าวโพดลดลง เป็นต้น
4.    เทคโนโลยีในการผลิตสินค้า เช่น หากมีการคิดค้นเทคโนโลยีในการผลิตให้ดีขึ้น ทำให้ผลิตได้ปริมาณสินค้ามากขึ้นด้วยต้นทุนเท่าเดิม จะทำให้ปริมาณการเสนอขายสินค้าเพิ่มขึ้นได้
5.    การคาดการณ์ในอนาคต เช่น หากผู้ผลิตหรือผู้ขายคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว ก็เสนอขายสินค้าในปริมาณที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น
6.    ปัจจัยอื่น เช่น ฤดูกาล ภาษีและเงินอุดหนุน จำนวนผู้ขาย และโครงสร้างตลาดสินค้า ฯลฯ


             การเปลี่ยนแปลงของอุปทาน 
            จะเกิดขึ้นในลักษณะคล้ายกันกับการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ กล่าวคือ หากเกิดจากราคาของสินค้านั้นๆ  เอง (ปัจจัยกำหนดอุปทานข้อ 1.) การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นบนเส้นอุปทานเส้นเดิม (Move along the supply curve) แต่หากเกิดปัจจัยอื่น โดยที่ราคาของสินค้านั้น ๆ คงที่ การเปลี่ยนแปลงจะเลื่อนเส้นอุปทานไปทางซ้าย หรือทางขวาของเส้นเดิมทั้งเส้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เข้ามากระทบว่าจะส่งผลทางใด (Shift in supply curve) ดังแสดงในรูปที่ 4 เช่น หากต้นทุนการผลิตของผู้ผลิตสูงขึ้น ณ ระดับราคาขายสินค้าที่เท่าเดิม ผู้ขายจะเสนอขายสินค้าในปริมาณที่ลดลง เช่น ณ ระดับราคาสินค้า 60 บาทเท่าเดิม แต่ต้นทุนเพิ่มขึ้น จึงทำให้เส้นอุปทานเลื่อนไปทางซ้ายของเส้นเดิมทั้งเส้น จาก S1 ไปยัง S2 แสดงถึงผู้ขายต้องการขายสินค้าน้อยลงจาก 140 หน่วย เหลือ 80 หน่วย เป็นต้น


รูปที่ 4 การเปลี่ยนแปลงเส้นอุปทาน แบบเลื่อนไปทั้งเส้น จากปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ราคา
 


            ดุลยภาพ (Equilibrium price and output)
               จากที่ได้กล่าวมาแล้วถึงความต้องการซื้อ และความต้องการขายสินค้า ณ ระดับราคาต่าง ๆ ของทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิต ระดับดุลยภาพ ก็คือ ระดับราคาที่ผู้ซื้อและผู้ขายเห็นพ้องต้องกัน หรือระดับราคาที่อุปสงค์เท่ากับอุปทาน หรือเส้นอุปสงค์ตัดกับเส้นอุปทาน


รูปที่ 5  แสดงเส้นอุปสงค์ อุปทาน และระดับดุลยภาพ
 


                 จากรูปแสดงให้เห็นถึงระดับดุลยภาพที่ความต้องการซื้อและความต้องการขายเท่ากันพอดี (เส้น D ตัดกับเส้น S ณ จุด E) โดย ณ ราคาสินค้า 60 บาทต่อหน่วย ผู้ซื้อและผู้ขายมีความต้องการสินค้าที่ 120 หน่วย
                ทั้งนี้ จุดที่ราคาสูงกว่าราคาดุลยภาพ จะเกิดอุปทานส่วนเกิน (Excess supply) และจะมีการปรับตัวเข้าสู่ราคาดุลยภาพ
                ส่วนจุดที่ราคาอยู่ต่ำกว่าราคาดุลยภาพ จะเกิดอุปสงค์ส่วนเกิน (Excess demand) และจะมีการปรับตัวสู่ราคาดุลยภาพ